Feeds:
เรื่อง
ความเห็น

ความหมายของโครงงาน

โครงงาน (Project Approach) คือ กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้ทำการศึกษาค้นคว้าและฝึกปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่นๆ ไปใช้ในการศึกษาหาคำตอบ โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า ดำเนินงานตามแผน กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการนำเสนอผลงาน ซึ่งอาจทำเป็นบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
โครงงาน คือ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้คำตอบให้ลึกซึ้ง
หรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆให้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการ วิธีการที่ศึกษาอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอน
มีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคำตอบในเรื่องนั้นๆ

จุดมุ่งหมายในการทำโครงงาน                                                   

* เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเอง
* เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกซึ่งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
* เพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เช่น รู้จักทำงานร่วมกับบุคคลอื่น
มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความรับผิดชอบฯ
* เพื่อให้ผู้เรียนใช้ความรู้และประสบการณ์เลือกทำโครงงานตามความสนใจ

  1. ความหมายและความสำาคัญของโครงงาน ความหมาย โครงงาน หมายถึง กิจกรรมการศึกษาวิชาการงานท่ีส่งเสริม สนั บสนุนให้นักเรียนได้เลือกขึ้นมาศึกษา ค้นคว้า ริเร่ิมสร้างสรรค์ ผลงานตามท่ีตนเองมีความถนั ด มีความพร้อมและสนใจ แล้วลงมือ ปฏิบัติให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายท่ีกำาหนดไว้ โดยมีรายละเอียดของงาน ท่ีจะทำาไว้ล่วงหน้ า เป็ นขันตอน พร้อมทังคาดการณ์ผลท่ีจะเกิดขึ้น ้ ้ ทังนี้โดยได้รับคำาแนะนำ าปรึกษาจากครูในโรงเรียนของตน ้ ความสำาคัญของโครงงาน ความสำาคัญของโครงงานในแง่ของการเรียนการสอน และการ จัดกิจกรรมเสริมตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2533 มีดังนี้คือ 1. ด้านนั กเรียน 2. ด้านโรงเรียนและครูอาจารย์ 3. ด้านท้องถ่ิน 1. ด้านนั กเรียน ก่อให้เกิดคุณค่าต่าง ๆ ดังนี้คือ 1.1 ช่วยสร้างความหวังใหม่ในการริเร่ิมงานท่ีจะนำ าไปสู่งาน อาชีพ และการศึกษาต่อท่ีตนเองมีความถนั ด และสนใจ 1.2 สร้างเสริมประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง ด้วยชีวิตจริง ส่งผลให้เกิดความเข้าใจอย่างซาบซึ้งในโครงงานท่ีสร้างสรรค์ขึ้นมา 1.3 ได้มีโอกาสทดสอบความถนั ดของตนเอง และการแก้ ปั ญหาในงานท่ีตนเองสนใจและมีความพร้อม ส่งผลให้เกิดความ มันใจในการดำาเนิ นงานต่อไป ่ 1.4 ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจท่ีได้สร้างเกียรติประวัติในโครง งานท่ีได้ริเร่ิมสร้างสรรค์ 1.5 ก่อให้เกิดความรัก ความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีงาม ต่อกันในระหว่างเพ่ ือนนั กเรียนท่ีปฏิบัติงานเป็ นกลุ่ม 1.6 ก่อให้เกิดความรู้ทางวิชาการท่ีกว้างขวางขึ้น โดยเฉพาะ อย่างย่ิงได้รับความสำาเร็จในการศึกษาตามหลักสูตรและตรงกับจุด หมายท่ีกำาหนดไว้
  2. 2. ด้านโรงเรียนและครูอาจารย์ ก่อให้เกิดคุณค่าต่าง ๆ ดังนี้คือ 2.1 เกิดการประสานงานทางวิชาการท่ีผสมผสานหรือบูรณา การเกิดขึ้นในโรงเรียน ตรงกับหลักสูตรมัธยมศึกษา และแนวทาง การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ 2.2 เกิดความเข้าใจท่ีตรงกันว่า การเรียนการสอนในปั จจุบัน ขึ้นอยู่กับการฝึ กปฏิบัติจริงในโครงงานของนั กเรียนมากกว่าท่ีจะ เรียนอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั ้น 2.3 เกิดศูนย์รวมส่ ือการเรียนการสอน หรือศูนย์วัสดุอุปกรณ์ การสอน สำาหรับให้หมวดวิชาต่าง ๆ ในโรงเรียนได้ใช้ร่วมกัน ส่งผล ให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึ กใช้ส่ือการสอนอย่างแท้จริงและหลากหลาย 2.4 เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างของนั กเรียน โรงเรียน และ ครูอาจารย์ท่ีมีโอกาสปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด และเห็นอกเห็นใจซ่ ึงกัน และกัน โดยเฉพาะช่องว่างท่ีต่างกัน 3. ด้านท้องถ่น ก่อให้เกิดคุณค่าต่าง ๆ ดังนี้คือ ิ 3.1 การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ความรู้ ผลงานในเชิง ปฏิบัติของโครงงานท่ีประสบความสำาเร็จไปสู่ท้องถ่ิน ทำาให้ท้องถ่ิน กับโรงเรียนมีความเข้าใจและประสานสัมพันธ์กันดีย่ิง 3.2 ช่วยลดปั ญหาวัยรุ่นในท้องถ่ินเก่ียวกับความประพฤติ จรรยามารยาท และศีลธรรม เพราะนั กเรียนท่ีมีโครงงานมักจะเป็ น นั กเรียนท่ีมีความประพฤติดี มุ่งมันและสนใจการศึกษาเล่าเรียน ่ เท่านั ้น 3.3 ทำาให้ประชาชนในท้องถ่ินมีพ้ืนฐานทางการศึกษาดี โดย เฉพาะงานอาชีพท่ีหลากหลายและการพัฒนาการศึกษาท่ีมุ่งเน้ นให้ เยาวชนของชาติมีนิสัยรักการทำางาน ไม่เป็ นคนหยิบโหย่งและช่วย เหลือพ่อแม่ผู้ปกครองด้วยดี
  3.  โครงงาน
    เป็นรูปแบบการเรียนที่มุ่งส่งเสริม ให้ผู้เรียนได้ค้นหาความสามารถ ความถนัด และความสนใจของตนเองในด้านต่าง ๆ มาจาก แนวคิดพื้นฐานของการเรียน รู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) และการเรียนรู้ตามสภาพจริง โดยมีการศึกษาหลักการ และวิธีเกี่ยวกับ โครงงานที่เลือกศึกษา วิเคราะห์ วางแผนการทำงาน ลงมือทำงาน และปรับปรุง เพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ ในกระบวนการเรียนการสอน ได้ใช้ทักษะกระบวนการ สอดแทรกคุณธรรม ทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกปฏิบัติจริง เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วม มีครูเป็นผู้ชี้แนะ ให้คำปรึกษาตลอดเวลา เน้นฝึกคนให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
    โครงงาน เป็นการจัดการเรียน รู้รูปแบบหนึ่งที่ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง จากการลงมือปฏิบัติจริง ในลักษณะของการศึกษา สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น โดยมีครูเป็นผู้คอยกระตุ้นแนะนำให้คำปรึกษา
  4.        ประโยชน์และความสำคัญของการจัดทำโครงงาน
    1. ทำงานตามความถนัด ความสนใจของตนเอง
    2. ฝึกทักษะกระบวนการทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม
    3. สามารถวางแผนการทำงานเป็นระบบ
    4. พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
    5. ศึกษา ค้นคว้า และแก้ปัญหาจากการทำงาน
    6. เป็นสิ่งยืนยันว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในโครงงานที่ทำจริง ในกรณีที่ต้องนำแสดงต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
    7. มีความรู้นอกเหนือจากหนังสือแบบเรียน
  5. ความหมายและคุณค่าของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
  6. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าของทุก ๆ สังคมในโลกปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีด้านนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะคอยติดตามความก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาและเป็นสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่าอีกด้วย ดังนั้นการศึกษาเทคโนโลีของคอมพิวเตอร์จึงต้องศึกษาหลักการและเนื้อหาพื้นฐานเป็นสำคัญ
    การศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งจำเป็นเสมือนกับการศึกษาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ คอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนแปลงโลกของเราในด้านต่าง ๆ มากมายได้แก่
    – สังคมโดยส่วนใหญ่เปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคมสารสนเทศ
    – การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ มักขึ้นอยู่กับข้อมูลซึ่งได้จากระบบคอมพิวเตอร์
    – คอมพิวเตอร์กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญแทนเครื่องมืออื่น ๆ ในอดีต เช่น เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคิดเลขเป็นต้น
    – คอมพิวเตอร์ถูกใช้ในการออกแบบสถานการณ์หรือปัญหาที่ซับซ้อนต่าง ๆ
    – คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารของโลกปัจจุบัน
  7.           นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาเรียนวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเพื่อความเข้าใจความเป็นไปของธรรมชาติในโลก ในทำนองเดียวกันนักเรียนต้องเรียนวิชาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อความเข้าใจในสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของสังคมต่าง ๆ ในยุคสารสนเทศ เนื้อหาวิชาทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษามีเป้าหมายที่จะพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจในวิทยาการของคอมพิวเตอร์และมีความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมได้ ดังนั้นการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์จะเป็นสิ่งที่ทำให้นักเรียนสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างสมบูรณ์
    จุดมุ่งหมายที่สำคัญประการหนึ่งของการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน คือการที่นักเรียนได้มีโอกาสฝึกความสามารถในการนำความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่งคือการที่นักเรียนได้มีโอกาสทำโครงงานคอมพิวเตอร์
    โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นงานวิจัยในระดับนักเรียน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีอยู่ในการศึกษา ทดลอง แก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำผลที่ได้มาประยุกต์ใช้งานจริง หรือใช้เพื่อช่วยสร้างสื่อเพื่อเสริมการเรียนให้ได้ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โครงงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกฝนการใช้ทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งเครื่องมือต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา รวมทั้งการพัฒนาการสร้างผลงานจริงอีกด้วย

  8.           โครงงานคอมพิวเตอร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาเป็นกิจกรรมการเรียนที่นักเรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนสนใจ ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่ต้องใช้ความรู้ กระบวนการทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน โครงงานบางเรื่องอาจต้องการวัสดุอุปกรณ์นอกเหนือจากที่มีอยู่ ซึ่งนักเรียนจะต้องคิดออกแบบสร้างขึ้น หรือดัดแปลงเพื่อใช้งานได้ตรงกับความต้องการ โดยในการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์จะอยู่ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาของครูในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์หรือต่างสาาวิชารวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ด้วย
  9.           โครงงานคอมพิวเตอร์ที่จะทำในระดับมัธยมศึกษาควรเป็นประเด็นหรือปัญหาที่นักเรียนสนใจใคร่รู้ และสามารถใช้ความรู้ ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์ในระดับของนักเรียน เพื่อคิดแนวทางในการแก้ปัญหาและการพัฒนาโปรแกรม เพื่อให้โครงงานคอมพิวเตอร์นั้นมีคุณค่ายิ่ง อย่างไรก็ตาม เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดที่จะทำโครงงานอาจมีผู้สนใจทำมาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนามาแล้ว แต่นักเรียนก็ยังสามารถทำโครงงานดังกล่าวได้ เพียงแต่คิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้
    กิจกรรมที่จัดว่าเป็นโครงานคอมพิวเตอร์ควรมีองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้
    – เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับซอต์ฟแวร์และเครื่องคอมพิวเตอร์
    – นักเรียนเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า พัฒนาด้วยตนเองตามความสนใจและระดับความรู้ความสามารถ
    – นักเรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า ตลอดจนการพัฒนาเก็บรวบรวมข้อมูลหรือประดิษฐ์คิดค้น รวมทั้งการสรุปผล และการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีครูอาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา
    การทำโครงงานคอมพิวเตอร์มีของเขตกว้างขวางมาก ตั้งแต่เรื่องที่ง่าย ๆ ไปจนถึงเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน โครงงานคอมพิวเตอร์บางเรื่องอาจใช้เวลาสั้นในการพัฒนา จนถึงเรื่องที่ใช้เวลาเป็นภาคเรียนหรือปีการศึกษา โครงงานคอมพิวเตอร์บางเรื่องเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยจนถึงนับพันบาท นักเรียนจึงควรศึกษารายละเอียดและงบประมาณต่างๆ ของโครงงานก่อน จึงค่อยเลือกทำโครงงานที่เหมาะสมกับระดับความรู้ ความสามารถ และความสนใจของนักเรียน โดยทั่ว ๆ ไป การทำโครงงานคอมพิวเตอร์จัดเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ทุกระดับการศึกษา โดยอาจจะทำเป็นกลุ่มหรอทำเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจของนักเรียนแต่ละคนแต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ
    จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ไม่ได้อยู่ที่การส่งเข้าประกวดเพื่อรับรางวัล แต่เป็นโอกาสที่นักเรียนจะได้ประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ตลอดจนการแสดงผลงานของตนเองเพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองและผู้ที่สนใจในชุมชนเมื่อมีการจัดกิจกรรมของโรงเรียนหรืองานอื่น ๆ

  10.      การทำโครงงานคอมพิวเตอร์และการจัดงานแสดงโครงงานจะมีคุณค่าต่อการฝึกฝนให้นักเรียนมีความรู้ ความชำนาญ และมีความมั่นใจในการนำระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเองและยังมีคุณค่าอื่น ๆ อีกดังต่อไปนี้
    1. สร้างความสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาและพัฒนาระบบด้วยตนเอง
    2. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง
    3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ในเรื่องที่นักเรียนสนใจได้ลึกซึ้งกว่าการเรียนในห้องตามปกติ
    4. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน
    5. กระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิชาสาขาคอมพิวเตอร์ และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทางด้านนี้
    6. ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
    7. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนสนใจคอมพิว เตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
    8. เป็นการบูรณาการเอาความรู้จากวิชาต่าง ๆ ที่ได้รับมาจัดทำผสมผสานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นโครงงานเพื่อนำเสนอต่อชุมชน
    การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์นั้น นักเรียนควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เหตุผลที่ใช้ในการแก้ปัญหา กระบวนการแก้ปัญหา หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น และการแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะเริ่มทำโครงงาน และใช้ความรู้ดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ในโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยในการทำโครงงานนักเรียนอาจจะมีโอกาสได้ทำความรู้จักกับความรู้ใหม่เพิ่มเติมอีกด้วย เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ฐานข้อมูล (Database) และการสืบค้นข้อมูล (Information Retrieval) เป็นต้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับหัวข้อที่นักเรียนเลือกทำโครงงาน

องค์ประกอบหลักโครงงานคอมพิวเตอร์

1. เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องซอฟต์แวร์และเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ผู้เรียนเป็นริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษา ค้นคว้า พัฒนา

3. เก็บรวบรวมหรือประดิษฐ์คิดค้นด้วยตนเองตามความสนใจ
และระดับความรู้ความสามารถ

4. ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา สรุป และเสนอผลการศึกษา
ด้วยตนเอง โดยมีผู้เสนอเป็นที่ปรึกษา

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์

1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
2. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน

3. โครงงานพัฒนาเกม

ประเภทของโครงงาน

ประเภทโครงงาน
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. โครงงานตามสาระการเรียนรู้ เป็นการใช้บูรณาการร่วมกับการเรียนรู้ ทักษะและเป็นพื้นฐานในการกำหนดโครงงานและปฏิบัติ
2. โครงงานตามความสนใจ เป็นโครงงานที่ผู้เรียนกำหนดขั้นตอน ความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยใช้ทักษะความรู้ จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆมาบูรณาการเป็นโครงงานและปฏิบัติ
สามารถแบ่งได้ 4 รูปแบบ ตามวัตถุประสงค์
1. โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล
2. โครงงานที่เป็นการศึกษาค้นคว้า ทดลอง
3. โครงงานที่เป็นการศึกษาทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดใหม่ ๆ ในการพัฒนาผลงาน
4. โครงงานที่เป็นการสร้างประดิษฐ์ คิดค้น

1. โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล
เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมข้อมูล เรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วนำข้อมูลนั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ ในรูปแบบที่เหมาะสม ข้อมูลที่ได้จะนำไปปรับปรุงพัฒนาผลงาน ส่งเสริมผลผลิตให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ข้อมูลดังกล่าว อาจมีผู้จัดทำขึ้นแล้ว แต่มีการเปลี่ยนแปลง จึงต้องมีการจัดทำใหม่เพื่อให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้ศึกษาโครงงาน โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก เช่น

* การสำรวจแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
* การสำรวจงานบริการและสถานประกอบการในท้องถิ่น

2. โครงงานที่เป็นการศึกษาค้นคว้า ทดลอง

เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ โดยศึกษาหลักการและออกแบบการค้นคว้า ในรูปแบบการทดลองเพื่อยืนยันหลักการ ทฤษฎี เพื่อศึกษาหาแนวทางในการเพิ่มคุณค่า และการใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น เช่น

* การปลูกพืชโคยไม่ใช้สารเคมี
* การทำขนมอบชนิดต่าง ๆ โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น
* การควบคุมการเจริญเติบโตของต้นไม้ประเภทเถา
* การศึกษาสูตรเครื่องดื่มที่ผลิตจากธัญญพืช

3. โครงงานที่เป็นการศึกษาทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดใหม่ๆ
เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอความรู้ หรือหลักการใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ยังไม่มีใครเคยคิด หรือคิดขัดแย้ง หรือขยายจากของเดิมที่มีอยู่ จากเนื้อหาวิชาการ หลักการ ทฤษฎีต่าง ๆ นำมาปรับปรุง พัฒนา ให้สอดคล้องมีความชัดเจน มีผลงานที่เป็นรูปธรรม ซึ่งต้องผ่านการพิสูจน์อย่างมีหลักการและเชื่อถือได้ เช่น

* การใช้สมุนไพรในการปราบศัตรูพืช
* การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการถนอมอาหาร และปรุงอาหาร
* เกษตรแบบผสมผสาน
* เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหา

4.โครงงานที่เป็นการสร้างประดิษฐ์ คิดค้น
เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ คือ การนำความรู้ทฤษฎี หลักการ มาประยุกต์ใช้ โดยประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่างๆ หรืออาจเป็นการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ หรือปรับปรุงของเดิมให้ดีขึ้นใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น เช่น

* การประดิษฐ์เครื่องควบคุมการรดน้ำ
* การประดิษฐ์เครื่องรับวิทยุ
* การประดิษฐ์ของชำร่วย
* การออกแบบเสื้อผ้า

การสร้างบล็อก

Weblog เว็บล็อก หรือที่เรียกกันว่า Blog บล็อก ปัจจุบันน่าจะเป็นที่รู้จักกันดี ซึ่งคำนี้น่าจะมาจาก

web = เว็บไซต์
log = การบันทึกเรื่องราวตามลำดับเวลา
weblog น่าจะหมายถึงเว็บไซต์ที่เป็นการนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ตามลำดับเวลา ซึ่งเมื่อก่อน
น่าจะรู้จักกันในรูปแบบของไดอารี่ออนไลน์ ซึ่ง blog น่าจะเริ่มมาจากการเขียนไดอารี่ออนไลน์
รูปแบบการเขียนหรือการนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ก็จะแล้วแต่คนเขียน Blog ว่าจะนำเสนออะไร

ปัจจุบันมีคนนิยมเขียน Blog เพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็มีเว็บไซต์ต่างๆ ที่ให้บริการ Blog จำนวนมาก
ทำให้ผู้ที่คิดจะมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง ไม่ต้องยุ่งยากในการติดตั้ง เช่า Host ให้เปลืองเงิน
ซึ่งมีเว็บไซต์ที่ให้บริการ Blog ฟรีอยู่มากมาย สามารถเลือกสมัครใช้งานได้ตามที่ต้องการ

อย่างที่เราคุ้นๆ อยู่ก็มี
windows live space
wordpress
myspace
blogger (ของ google)
ของไทยก็..
bloggang (ของ pantip.com)
exteen
OKNation
และอื่นๆ อีกมากมาย

ส่วนใหญ่ที่บอกมาด้านบนก็เป็นสมาชิกแล้วเกือบทั้งนั้น

วันนี้เลยจะมาแนะนำการสมัคร Blog ในเว็บไซต์ wordpress.com กัน
ซึ่ง Software ที่เว็บไซต์นี้ใช้ทำ Blog แน่นอนเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจาก WordPress
(ช่วงนี้รู้สึกจะเขียนเรื่อง wordpress บ่อย) ที่มาก็เนื่องมาจากวันก่อนให้เด็กๆ สมัคร Blog
ก็เลยมีคนนึงแนะนำ wordpress.com ซึ่งน่าสนใจ และการใช้งานก็เหมือนกับ wordpress
เพียงแต่ไม่ต้องยุ่งยากในการลง ย้าย ไม่ต้องหา Host เพียงแค่สมัครสมาชิกก็ใช้งานได้
เหมือนๆ กับผู้ให้บริการ Weblog โดยทั่วไปนั่นเอง wordpress.com ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

มาดูกันดีกว่า ว่าถ้าอยากมี Blog กับ WordPress.com ต้องทำอะไรบ้าง
(จริงๆ ก็แค่การสมัครธรรมดา แต่ก็มาเขียนไว้ก็แล้วกัน อาจจะมีประโยชน์บ้าง)

เข้าไปที่เว็บไซต์ wordpress.com
คลิกที่ Sign Up Now!

 กรอกข้อมูลต่างๆ Username Password Email Address และคลิกที่ Next

จากนั้นใส่ Blog Domain ที่ต้องการ
Domain จะเป็น ชื่อที่เราตั้ง.wordpress.com
Blog Title ชื่อของ Blog เปลี่ยนได้ในภายหลัง จะขึ้นมาเป็นชื่อ Login’s Blog
Language เปลี่ยนเป็น th ไทยได้ wordpress จะเป็นภาษาไทย
จากนั้นคลิกที่ Signup ระบบจะส่ง Email ไปตามที่เรากรอกไว้เพื่อยืนยันการสมัคร

จากนั้นเข้าไป Check E-mail ตามที่กรอกไว้ คลิกตาม Link ใน E-mail จะมาปรากฏหน้านี้ให้ Login กรอก Username และ Password เพื่อ Login

จะเข้ามาที่หน้า Dashboards หากต้องการดู Site ที่สร้างขึ้นคลิกที่ Visit Site

 Theme เริ่มต้นจะเป็น Theme พื้นฐานของ WordPress

 หากต้องการเปลี่ยน Theme คลิกที่ My Dashboards ด้านบน จากนั้นคลิกที่ Appearance

จะมี Theme ให้เลือกมากมาย หากชอบธีมไหนคลิกที่ Preview เพื่อดูตัวอย่าง หรือคลิกที่ Activate เพื่อเลือกใช้ Theme นั้น

จากนั้นธีมที่เลือกจะเป็น Current Theme หรือธีมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คลิกที่ Visit Site หากต้องการดูธีมที่เลือก

 จะได้หน้าตา Blog เป็นธีมที่เลือก

การตั้งค่าหรือกลับไปจัดการข้างหลังบ้าน(My Dashboards)จะมีแถบแบบนี้อยู่ด้านบนทางซ้ายมือ

ในหน้า Dashboard สามารถดูสถิติของ Blog ได้ด้วย

หากครั้งต่อไปเข้ามาที่หน้า wordpress.com login ที่หน้าแรก

ด้านข้างจะบอกว่าเมื่อ Login เข้ามาเรามี Blog อะไรบ้าง ซึ่ง 1 Username ที่สมัคร ซึ่งสามารถ
ทำ Blog ได้หลาย Blog ในภาพยังมีอยู่ Blog เดียว หากต้องการจัดการ Blog ให้คลิกที่ชื่อนั้น
หรือหากต้องการจะเพิ่ม Blog ให้คลิกที่ Register another blog

จากนั้นจะให้กรอก Blog Domain ที่ต้องการและตั้งชื่อ Blog เลือกภาษา แล้วคลิกที่ Create Blog

เมื่อคลิกที่ My Dashboards ด้านบนจะเห็น blog อีกอันที่สร้างปรากฏอยู่ ซึ่งสามารถเข้าไปจัดการหรือแก้ไขในหน้า dashboard ได้โดยคลิกที่ชื่อ blog นั้น

เช่นเดียวกับหน้าแรกเมื่อ Login เข้ามา

Hello world!

Welcome to WordPress.com. After you read this, you should delete and write your own post, with a new title above. Or hit Add New on the left (of the admin dashboard) to start a fresh post.

Here are some suggestions for your first post.

  1. You can find new ideas for what to blog about by reading the Daily Post.
  2. Add PressThis to your browser. It creates a new blog post for you about any interesting  page you read on the web.
  3. Make some changes to this page, and then hit preview on the right. You can alway preview any post or edit you before you share it to the world.